ประเภทตามเทคโนโลยีเซนเซอร์
1. Pen Type Scanner
ลักษณะเหมือนปากกาใช้วิธีการลากเพื่ออ่านค่า โดยภายในตัวเครื่องอ่านจะมีเซนเซอร์อันเดียวเพื่อรับแสงสะท้อนในส่วนที่เงาดำกับเงาขาว ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเนื่องจากช้าและราคาเครื่องสแกนอื่นๆราคาต่ำลง
2. CCD readers
CCD (Charge Coupled Device) จะคุ้นเคยกันบ้างในเทคโนโลยีกล้องถ่ายรูป เป็นเทคโนโลยีเดียวกัน แต่ CCD readers จะมีเซนเซอร์รับการสะท้อนแสงเป็นแนวยาว ถือว่าเป็นเทคโนโลยีแบบเก่าดั้งเดิม จะสแกนได้กว้างสุดตามความยาวของตัวสแกนเนอร์
3. Laser readers
จะใช้เลเซอร์ซึ่งมีความเข้มแสงสูงยิ่งไปที่บาร์โค้ด จับความถี่แสงที่สะท้อนกลับ ข้อดีคือ ความแม่นยำสูง สแกนระยะไกลได้ สูงสุดได้ถึง 60-80ซม. สแกนได้แม้ป้ายบาร์โค้ดสั่นไหว
4. Imaging Scanner
การใช้เทคโนโลยี CCD แต่ที่แตกต่างจาก CCD readers คือความละเอียดที่สูงขึ้น คือ หลายล้าน pixel เพราะจะมีการถ่ายรูปออกมาเหมือนกล้องถ่ายรูป ทำให้ข้อมูลที่สู่เครื่องรับจะได้ตัวบาร์โค้ดทั้งหมดมาประมวลผ่านวงจรคำนวณ ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้สูงขึ้น ความละเอียดมาก ทำให้มีความแม่นยำสูง ซึ่งจะแม่นยำกว่าเครื่องอ่านประเภทอื่นๆ แต่ราคาจะแพงเพราะสามารถอ่านได้ทั้ง 1D 2D คุณสมบัติ คือ สามารถสแกนได้ทุกทิศทาง 360 องศา ไม่ต้องจับป้ายให้ตรงกับบาร์โค้ด สามารถสแกนบาร์โค้ดที่คุณภาพการพิมพ์ต่ำได้ เพราะเครื่องรับภาพบาร์โค้ดทั้งหมดมาประมวล
ประเภทตามรูปลักษณ์
1. แบบด้ามปืน
2. แบบยึดติดฐาน
ทำงานโดยเคลื่อนป้ายบาร์โค้ดเข้าหาเครื่องอ่านซึ่งสามารถสแกนอัตโนมัติ และไม่ต้องสนใจทิศทางของป้าย Omni Directional
3. แบบที่รูดบัตร
4. แบบ PDA Mobile
PDA Mobile คือคำตอบเพราะมีคอมพิวเตอร์ในตัว สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ทันทีแบบไร้สาย อีกทั้งสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานได้สูงขึ้น เช่น ยิงบาร์โค้ดเสร็จ ก็ถ่ายรูปสินค้าเก็บไว้ ปัจจบัน จะใช้ OS Windows CE,Windows Mobile และ Android
5. โทรศัพท์มือถือ
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มีการติดกล้องมาตัวเพียงหา Application ของการอ่านมาติดตั้งก็ใช้ได้ แต่คุณภาพจะเหมาะกับการใช้งานแบบส่วนตัวหรือใช้เป็นครั้งคราว เพราะประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการใช้งานจะไม่สามารถสู้กับอุปกรณ์ที่ทำออกแบบมาเฉพาะได้