ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีบาร์โค้ดนั้นเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ ด้านมากมาย เช่น การค้า โดยการนำบาร์โค้ดมาติดกับตัวสินค้าต่างๆ เพื่อจัดเก็บชื่อ รหัส และราคาของสินค้านั้นๆ หรือการจัดการสต๊อกสินค้า ซึ่งจะช่วยในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น แลการนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมกันนั้น บาร์โค้ดแบบ 1D ยังมีคุณสมบัติที่ยังไม่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าไรนัก ฉะนั้นจึงมีการพัฒนาบาร์โค้ดแบบ 2D ขึ้นมา
บาร์โค้ด 1D
บาร์โค้ด 1D มีลักษณะเป็นแถบจะประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว ซึ่งจะใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรโดยจะสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 15-20 ตัวอักษร การใช้งานบาร์โค้ดจะใช้ร่วมกับฐานข้อมูลเมื่ออ่านบาร์โค้ดและถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง
บาร์โค้ด 2 D
บาร์โค้ด 2 D เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มเติมมาจากบาร์โค้ด 1D โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้บรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษรหรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1D ในพื้นที่ๆ เท่ากันหรือเล็กกว่า และข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นได้จากภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้น บาร์โค้ด 2D สามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 Dมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบCCDหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1 D จนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2D มีอยู่อย่างมากมายหลากหลายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม